วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สารสนเทศ
ความหมาย
สารสนเทศ หมายถึงข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์กรต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์กรนั้นๆ

สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information หมายถึงความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า สารสนเทศเป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฎิบัติ
  

สารสนเทศมีความหมายตามที่ได้มีการจำกัดใกล้เคียงกัน ดังนี้
สารสนเทศหมายถึงข้อมูลทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพที่ประมวณจัดหมวดหมู่เปรียบเทียบ และวิเคราะห์แล้วสามารถนำมาใช้ หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า

เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT)
เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผลและการแสดงผลสารสนเทศ

องค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทส ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโยโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม

1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งด้านการบันทึก การรจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผล และการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยที่สำคัญได้ 2 ส่วน คือ เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีซอฟท์แวร์

1. เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ทีท่ต่อพ่วงเพื่อเชื่อมโยงจำแนกตามหน้าที่การทำงานออกเป็น 4 ส่วน คือ
(1.) หน่วยรับข้อมูล
(2.) หน่วยประมวลผลกลางหรือCPU (Centrol Processing Unit)
(3.)หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output  Unit)
(4.) หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Unit)

2. เทคโนโลยีซอฟท์แวร์  ( Software)
หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่มีหน้าที่ที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้อ
งการ

ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software)
หรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เคร่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์
2.  ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Appication Software) คือชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ


2.เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม
หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น ระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบเครือข่ายเคเบิล และระบบสื่อสารอื่นๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน

ความสำคัญของเทคโยโลยีสารสนเทศ
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 ( 2520-2524) การมีส่วนร่วมของการสื่อสารเพือการศึกษา
- มีการจัดตั้ศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาขึ้น
- ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ก็ได้มีการเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามากขึ้น
- ในแผนฯ 9 มีการจัดทำแผนหลักเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา

แผนพัฒนาฯข้างต้นทำให้เทคโนโลยีสารสนทศสารสนเทศมีความสำคัญต่อวงการศึกษาของประเทศไทยมากขึ้น จะทำให้การศึกษาของชาตืมีความเท่าเทียมทั่วถึง มีคุณภาพ และมีความต่อเนื่อง ส่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

พัฒนาการทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ยุคที่1 การประมวลผลข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวนและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ ( Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากร

ยุคที่2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุมดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ

ยุคที่3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ

ยุคที่4 ยุคปัจจุบัน หรือยุคเทคโนโลลยีสารสนเทศมีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมป็นเครื่องมือช่วยในการจัดระบบสารสนเทศ แน้นความคิดของ

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร
1. ให้ความรู้ ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตูการณ์ที่จะเกิดขึ้น
5. เพื่อให้การบริหารมีระบบ

สรุป
การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษามีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์เคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่าง เช่น ดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง อินเตอร์เน็ต ก่อให้เกิดระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารงานการศึกษาด้านต่างๆ เช่น ระบบบริหารจัดการห้องสมุด และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษายังช่วยในการลดความเลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาบุคคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านการศึกษา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น